วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2558

ปัญหาที่พบบ่อย

ปัญหาสุขภาพที่ทารกเบบี๋พบบ่อย 


              ปัญหาสุขภาพของเด็กๆ ที่พบบ่อยในช่วง 3 เดือนแรกของชีวิต มักเป็นปัญหาจากการปรับตัวกับความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม จากในท้องแม่มาสู่โลกภายนอก รวมไปถึงความสามารถในการปรับตัวของคุณพ่อคุณแม่ต่อการเลี้ยงดูลูกๆ โดยเฉพาะในลูกคนแรก

              ความเป็นจริงแล้ว ปัญหาต่างๆ ของเด็กในช่วงนี้มักหายไปได้เองเมื่อโตขึ้น และเมื่อร่างกายของเขาสามารถปรับตัวให้เข้ากับโลกภายนอกได้ ความเข้าใจภาวะดังกล่าวจะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่คลายความกังวล และรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างเหมาะสม ไม่ตื่นตระหนกเกินควร แต่ยังสามารถเฝ้าระวังภาวะอันตรายซึ่งอาจเกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ยังช่วยให้ช่วยสังเกตได้ว่า อาการแสดงลักษณะใดควรพาลูกไปพบคุณหมอ เพื่อให้การวินิจฉัยและช่วยเหลือเป้นไปอย่างถูกต้องและเหมาะสมต่อไป
ดังนั้น ก่อนอื่นขึ้นพ่อแม่มือใหม่จึงควรรู้และเข้าใจก่อนว่า ปัญหาสุขภาพของลูกเบบี๋ที่พบบ่อยมีอะไรบ้าง เพื่อที่จะได้รับมือต่อไปได้

1. ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด
ทารกแรกเกิดช่วงเดือนแรกของชีวิตจำนวนหนึ่งมีโอกาสตัวเหลืองตาเหลืองได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน ส่วนใหญ่เกิดจากภาวะการแตกตัวของเม็ดเลือดแดงตามปกติ ด้วยความที่เม็ดเลือดแดงของทารกแรกเกิดมีอายุสั้นกว่าเม็ดเลือดแดงของเด็กโตและผู้ใหญ่ ทำให้เกิดการสร้างสารสีเหลืองขึ้นในร่างกายจากการแตกของเม็ดเลือด
นอกจากนี้ในเด็กที่กินนมแม่ก็อาจมีอาการตัวเหลืองได้มากและนานกว่าปกติ ซึ่งสามารถพบได้ 2 ช่วงครับ ช่วงแรกอาจพบได้ในช่วง 2-3 วันแรก อีกช่วงจะเป็นหลังหนึ่งสัปดาห์ไปแล้ว อาการเหลืองจากนมแม่นั้นไม่มีอันตราย ถึงแม้ว่าอาจจะดูเหลืองมากและเหลืองนาน บางคนเหลืองเป็นเดือนๆ

การดูแลรักษา : สำหรับตัวเหลืองจากนมแม่โดยทั่วไปไม่ต้องให้การรักษาอะไร ส่วนตัวเหลืองที่เกิดจากสาเหตุอื่น คุณหมอต้องหาสาเหตุและให้การรักษาที่สาเหตุนั้น อาจร่วมกับการส่องไฟ เพื่อเพิ่มการขับสารเหลืองออกจากร่างกาย หรือบางรายหากมีอาการรุนแรงอาจต้องร่วมกับการเปลี่ยนถ่ายโลหิต ซึ่งรายที่มีอาการรุนแรงจนต้องเปลี่ยนถ่ายโลหิตพบได้น้อย

2.หายใจเสียงดัง
คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกเล็กๆ คงเคยสังเกตว่า ลูกนอนหายใจเสียงดังเหมือนแมวกรน หรือเหมือนมีเสมหะในลำคอ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการพัฒนาของอวัยวะในส่วนทางเดินลมหายใจยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่
เช่น หลอดลม ซึ่งโดยทั่วไปจะมีกระดูกอ่อนคอยประคองไม่ให้เนื้อของหลอดลมตกลงไปด้านหลังจนขัดขวางทางเดินหายใจ เมื่อเด็กๆ นอนหงายยังพัฒนาได้ไม่ดี หรือในเด็กเล็กๆ บางคนเนื้อเยื่ออ่อนที่อยู่ด้านหน้าของทางเดินหายใจยังไม่แข็งแรง ร่วมกับต่อมน้ำเหลืองชนิดหนึ่งชื่อว่า ต่อมอะดีนอยด์ที่อยู่ในบริเวณนั้นตกลงไปขัดขวางทางเดินลมหายใจเวลานอนหงาย ทำให้เด็กๆ หายใจแล้วมีเสียงดัง

การดูแลรักษา : โดยทั่วไปไม่ต้องให้การรักษาอะไร เพียงแต่คุณพ่อคุณแม่ลองสังเกตว่า อาการหายใจเสียงดังทำให้รบกวนต่อการได้รับอากาศและออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายหรือไม่ เช่น มีริมฝีปากเขียวคล้ำ เล็บเขียวคล้ำ หรือรบกวนการนอนจนลูกนอนไม่ได้ เพราะเมื่อเด็กๆโตขึ้นกระดูกอ่อน และเนื้อเยื่อด้านหน้าหลอดลมจะแข็งแรงขึ้น ประกอบกับต่อมอะดีนอยด์ก็มักเล็กลง หากอายุเกิน 5 เดือนไปแล้วอาการไม่ดีขึ้น ก็ควรพาน้องไปปรึกษาคุณหมอ

3.แหวะนม
อาการแหวะนมหรืออาเจียนในเด็กเล็กเป็นปัญหาของการกินที่พบบ่อย และมักพบอาการหลังกินนม สาเหตุของอาการแหวะนมหรืออาเจียนเกิดจากการให้นมที่ไม่ถูกวิธีครับ ตั้งแต่ท่าการให้นมลูกที่ไม่เหมาะสม ทำให้เด็กดูดลมลงไปพร้อมกับนม พอกินนมเสร็จลมจะถูกดันขึ้นมาอยู่ด้านบน หากคุณพ่อคุณแม่ไม่ได้ช่วยเคาะหลัง เพื่อไล่ลมออกหลังกินนม ก็ทำให้มีโอกาสที่ลมจะดันนมย้อนออกมาทางปากได้ง่ายขึ้น
การให้นมลูกในปริมาณมากเกินกว่าที่กระเพาะของเด็กจะรับได้ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งครับ เพราะหูรูดกระเพาะอาหารของเด็กหลายคนยังไม่ค่อยแข็งแรง และจะพัฒนามากขึ้นเรื่อยๆ จนทำงานได้ดีขึ้นเมื่ออายุประมาณ 4-5 เดือน

การดูแลรักษา : การให้นมที่ถูกต้องทั้งปริมาณและท่าให้นม จะช่วยลดอาการแหวะนมได้มากครับ นอกจากนี้การไล่ลมให้ลูกหลังกินนม จัดท่าของลูกให้อยู่ในท่าหัวสูงอย่างน้อย 30 นาที ก่อนให้ลูกนอนลง ก็จะช่วยลดอาการแหวะนมได้ครับ หากลูกยังมีอาการที่อยู่ๆ อาเจียนพุ่ง หรือมีอาการอื่นที่บ่งบอกว่าอาจมีอาการติดเชื้อในกระแสโลหิต (ดูในล้อมกรอบอาการติดเชื้อในเด็กเล็ก) ก็ต้องรีบไปพาน้องไปพบคุณหมอ

4.โคลิก
โคลิกเป็นอาการที่พบได้บ่อยในเด็กเล็กโดยเฉพาะช่วงอายุน้อยกว่า 3 เดือน สาเหตุยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าน่าจะเป็นจากลำไส้ของเด็กไวต่อการถูกกระตุ้นมากกว่าปกติ พบได้บ่อยในเด็กที่กินนมผสม เด็กที่กินแม่ก็พบได้แต่น้อยกว่าครับ เด็กมักแสดงอาการด้วยการร้องเสียงดังจนหน้าดำหน้าแดง มีอาการเกร็งและบิดของแขนและขา อาการร้องจะเป็นเวลาเดิมของทุกวัน

การดูแลรักษา : หากมีอาการมากจนรบกวนกับชีวิตประจำวัน หรือรบกวนคนอื่นในครอบครัว คุณพ่อคุณแม่สามารถพาลูกไปหาคุณหมอ เพื่อให้คุณหมอสั่งยาป้องกันการเกิดโคลิกให้ได้ครับ แต่อาการโคลิกจะหายไปได้เองเมื่อเด็กโตขึ้น โดยทั่วไปหลังจาก 3-5 เดือนไปแล้ว

5.ถ่ายบ่อย
ในเด็กที่กินนมแม่อาจมีอาการถ่ายบ่อย เนื่องจากนมแม่มีสารอาหารที่ช่วยในการขับถ่ายครับ เด็กๆ หลายคนกินนมเสร็จก็ถ่ายทุกที คุณแม่สังเกตได้อย่างนี้ครับ หากถ่ายไม่เป็นน้ำ ไม่มีมูกเลือด ไม่มีอาการเหม็นเน่า ลักษณะอุจจาระมีกากดี ก้นไม่แดง และเด็กๆ ก็สดชื่นดี ไม่ต้องกังวล

การดูแลรักษา : หากเป็นการถ่ายบ่อยจากการกินนมแม่ และไม่มีภาวะผิดปกติอื่น ไม่จำเป็นต้องให้การรักษาครับ แต่หากมีความผิดปกติคุณหมอจะให้การรักษาที่แตกต่างกันตามสาเหตุ

6.อาการตัวร้อน
อาการตัวร้อนในเด็กเล็กพบได้บ่อยมากครับ ส่วนใหญ่เกิดจากการห่มผ้าให้กับลูกมากเกินไปเนื่องจากมีกังวลกลัวว่าลูกจะหนาว บางคนห่มผ้าให้ลูกผืนเดียวก็จริงแต่พับถึง 12 ทบก็เคยเจอนะครับ โดยทั่วไปเด็กทารกแรกเกิดที่ไม่ต้องอยู่ในตู้อบสามารถควบคุมอุณหภูมิร่างกายได้เหมือนผู้ใหญ่ วิธีดูง่ายๆ คือ หากคุณแม่หนาวคุณลูกก็หนาว หากคุณแม่ร้อนคุณลูกก็ร้อน พิจารณาง่ายๆ ก็คือห่มผ้าให้ลูกตามที่คุณแม่รู้สึก
การดูแลรักษา : หากไม่มีไข้จากการติดเชื้อหรือความเจ็บป่วยอื่น การห่มผ้าอย่างเหมาะสมก็จะช่วยให้อาการตัวร้อนลดลงได้ครับ เพียงแต่คุณพ่อคุณแม่ต้องสังเกตอาการร่วมอื่นๆ ให้ดีนะครับว่า มีอาการอะไรที่ต้องพาลูกไปพบคุณหมอหรือไม่ครับ

7.ผื่นผิวหนัง
ผื่นผิวหนังจำนวนมากในทารกแรกเกิดโดยเฉพาะในช่วง 7 วันแรกมักหายไปได้เองครับ ไม่ว่าจะเป็นผดผื่น สิวของทารก ตุ่มขาวบริเวณหน้าผาก แก้มและปลายจมูก หรืออาการกลากน้ำนมตามข้างแก้ม และหนังศีรษะแห้งลอกเป็นแผ่น อาการที่ต้องพาไปพบคุณหมอคือ การพบตุ่มหนอง ไม่ว่าจะบริเวณใดๆ ของร่างกาย เพราะตุ่มหนองนี้บ่งบอกถึงอาการติดเชื้อทางผิวหนัง

การดูแลรักษา : รักษาความชุ่มชื้นของผิวหนังด้วยการเลือกผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดร่างกายของเด็กๆ อย่างเหมาะสม ใช้เบบี้ออยล์หยดลงไปในน้ำอาบให้กับลูกสัก 2-3 หยดเวลาอาบน้ำ หลังอาบน้ำใช้เบบี้โลชั่นทางบางๆ ก็ช่วยได้มากแล้วครับ หากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 1 สัปดาห์ หรือลุกลามเร็วมาก ควรพาไปพบคุณหมอ

              อาการต่างๆ ที่เล่ามาล้วนเป็นภาวะอาการที่พบได้บ่อยในคลินิกกุมารเวชกรรม ซึ่งคุณพ่อคุณแม่มักกังวล ทั้งที่อาการเหล่านี้ส่วนใหญ่หายไปได้เอง เพียงแต่มีความเข้าใจและรับมือได้อย่างเหมาะสม สิ่งสำคัญคือ คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยสังเกตอาการที่อาจเกิดจากความเจ็บป่วยที่รุนแรงเช่น การติดเชื้อในกระแสโลหิต หรือการติดเชื้อในเยื่อหุ้มสมองเพื่อให้สามารถพาเด็กๆ ไปพบคุณหมอและรักษาอย่างทันท่วงทีครับ
การติดเชื้อในเด็กเล็ก
นอกจากอาการของเด็กเล็กที่พบบ่อยๆ และได้กล่าวไปแล้วนั้น ภาวะสุขภาพที่กุมารแพทย์เป็นห่วง และต้องมองหาทุกครั้งสำหรับอาการเจ็บป่วยของเด็กเล็ก 3 เดือนแรกนั้น คือการติดเชื้อที่รุนแรง เช่น การติดเชื้อในกระแสโลหิต หรือการติดเชื้อในเยื่อหุ้มสมอง
การติดเชื้อในกระแสโลหิตสำหรับเด็กเล็กๆ จะมีอาการได้หลากหลายมากเลยครับ ตั้งแต่อาการเจ็บป่วยทั่วไป เช่น มีไข้สูง ตัวเย็น ซึมลง ดูดนมน้อยลง ท้องอืด ท้องเสีย อาเจียน สีผิวเปลี่ยนแปลง ตัวลาย หายใจหอบหรือเร็ว ร้องงอแง ไปจนถึงอาการที่ดูรุนแรงจากทั้งการติดเชื้อในกระแสโลหิตอย่างเดียว หรือการติดเชื้อในเยื่อหุ้มสมองร่วมด้วย อย่างอาการชัก หรือหมดสติ
อาการต่างๆ เหล่านี้เป็นอาการที่พบไม่บ่อย คุณพ่อคุณแม่อย่าได้กังวลแต่เมื่อลูกไม่สบายก็ต้องเฝ้าสังเกตอาการ และหากพบก็ต้องรีบพาไปพบคุณหมอทันที


โดย: นพ.พงษ์ศักดิ์ น้อยพยัคฆ์

หัวหน้าหน่วยพัฒนาการเด็กและวัยรุ่น วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล

โภชนาการ

ความต้องการสารอาหารของวัยทารก


               ทารกควรได้รับอาหารเพียงพอกับที่ร่างกายต้องการ ความต้องการสารอาหารของทารกต่อหน่วยน้ำหนักกิโลกรัม มากกว่าวัยอื่นๆ เพราะมีการเจริญเติบโตที่รวดเร็วมาก
พลังงาน ทารกต้องการพลังงานวันละ 100-120 แคลอรีต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
โปรตีน ช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย และพัฒนาการของสมอง ทารกควรได้รับโปรตีนวันละ 2.5 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ซึ่งสูงกว่าวัยอื่นๆ
วิตามิน ได้แก่
-              วิตามินเอ ช่วยในการทำงานของเยื่อบุของตา และเยื่อบุผิวหนัง ทารกควรได้รับวิตามินเอวันละ 1000หน่วยสากล
-              วิตามินดี จำเป็นในการสร้างกระดูกและฟัน ควรได้รับวันละ 400 หน่วยสากล
-              วิตามินบี1 ควรได้รับวันละ 0.3 มิลลิกรัม
-              วิตามินบี2 ควรได้รับวันละ 0.4 มิลลิกรัม
-              ไนอะซิน ได้รับอย่างเพียงพออยู่แล้วในน้ำนม ซึงมีปริมาณ 4 มิลลิกรัม
-              วิตามินซี ต้องการวันละ 20 กรัม
-              โฟลาซิน ได้จากผักใบเขียวและตับสัตว์
เกลือแร่ ได้แก่
-              แคลเซียม ต้องการวันละ 400-500 มิลลิกรัม
-              เหล็ก ต้องการประมาณ 1 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม แต่ถ้าเป็นทารกที่คลอดก่อนกำหนดก็ต้องการ 2 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว
-              ไอโอดีน เป็นส่วนประกอบสำคัญในการสร้างฮอร์โมนไทรอคซินในระยะ6เดือนแรก ทารกจะต้องการไอโอดีนวันละ 35 ไมโครกรัม
น้ำ ควรได้รับวันละ 150 มิลลิลิตรต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม


อาหารเพิ่มเติมอื่นๆสำหรับทารก

-                   ทารกอายุ 1 เดือน ให้น้ำส้มคั้นที่ไม่เปรี้ยวมากเกินไป 1 ช้อนชา ผสมน้ำสุกเท่าตัว ต่อมาจึงเพิ่มจำนวนส้มจนถึงประมาณ ครึ่งผลถึงหนึ่งผล

-                   ทารกอายุ 2 เดือน เริ่มให้น้ำมันตับปลาประมาณครึ่งช้อนชา
-                   ทารกอายุ 4 เดือน เริ่มให้ข้าวครูด หรือข้าวบด ในตอนแรกให้เพียง 1-2 ช้อนชา แล้วค่อยๆเพิ่มจนถึง 1-2 ช้อนโต๊ะผสมกับ น้ำต้มกระดูก น้ำต้มตับ น้ำต้มผัก หลังจากนั้นให้น้ำนมตาม เมื่อทารกกินข้าวกับน้ำซุบได้ดีแล้ว ก็เริ่มให้ไข่แดงต้มสุดบดละเอียด เริ่มด้วย 1 ช้อนชา และเพิ่มไปเรื่อยๆ จนถึงไข่แดงวันละ 1 ฟอง
-                   ทารกอายุ 5 เดือน เริ่มให้เนื้อปลาบดละเอียดประมาณ 1-2 ช้อนโต๊ะ ผสมกับข้าวและน้ำซุบ
-                   ทารกอายุ 6 เดือน ให้อาหารผสมแทนน้ำนม 1 มื้อเริ่มให้ผักต้มบดละเอียดลงไปในข้าวประมาณ 1-2 ช้อนโต๊ะ
-                   ทารกอายุ 7 เดือน เริ่มให้เนื้อสัตว์ต้มเปื่อยบดละเอียดและตับ1-2ช้อนโต๊ะ และให้ลองกินไข่ขาว ขนมปังกรอบ

-                   ทารกอายุ 8 เดือน เริ่มให้อาหารผสมแทนน้ำนม 2 มื้อ และเริ่มให้ของหวานหลังอาหารคาว

-                   ทารกอายุ 9 เดือน ให้อาหารเหมือนเมื่ออายุ 8 เดือน และให้เริ่มจับช้อนป้อนข้าวเอง และดื่มน้ำจากถ้วยเอง
-                   ทารกอายุ 10-12 เดือน ค่อยๆเพิ่มอาหารผสมแทนน้ำนมทั้ง 3 มื้อ

พัฒนาการด้านสติปัญญา


                จะเป็นไปตามวัยและต้องอาศัยการทำหน้าที่ในส่วนอื่นของร่างกายประกอบกันด้วย เช่น การรับรู้ การเรียนรู้ และความรู้เรื่องภาษา โดยที่ในขวบปีแรกการรับรู้จะอาศัยอวัยวะสัมผัสต่างๆ เช่น  ปาก จมูก มือ ลิ้น และผิวหนัง โดยที่พบว่าเมื่ออายุประมาณ 7-8 เดือนทารกจะสามารถเห็นความแตกต่างของใบหน้ามารดา กับใบหน้าบุคคลอื่นที่ไม่เคยพบได้และเมื่ออายุได้ประมาณ 1-2 ขวบทารกจะสามารถแยกแยะสิงของที่ที่มีรูปร่างและสีสันแตกต่างกันได้และแยกความแตกต่างระหว่างเสียงของสัตว์ เสียงของรถ และเสียงอื่นๆได้ ในช่วงปลายปีที่ 2 ของชีวิตก็จะสามารถแสดงความชอบสิ่งที่รับรู้ได้ เช่น ชอบรสหวาน ชอบสีบางสี หรือเสียงบางเสียงเป็นต้น

                การเรียนรู้ของทารกเกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมเป็นหลักทารกตองใช้เวลาประมาณเกือบปีจึงจะพูดได้โดยปกติแล้วทารกจะใช้เวลาในการพัฒนาทางด้านการพูดประมาณ 6 ปีโดยในช่วงปลายเดื่อนที่ 4 จะทำเสียงอือ ออ เมื่อเกิดความพึงพอใจและเมื่ออายุ 7-11 เดือนจะเลียนเสียงได้ถูกต้องชัดเจนขึ้น แต่ต้องใช้ท่าทางประกอบ หรือบางคำผู้ใหญ่ใกล้ชิดถึงจะรู้เรื่อง เช่น หม่ำ ป๊ะ ม๊ะ เป็นต้นโดยจะพูดได้จริงและเข้าใจความหมายของคำที่พูดเมื่ออายุ 1-2 ขวบ โดยเริ่มแรกจะเป็นพยางค์เดียวเช่น อุ้ม ไป ต่อมาจึงจะเริ่มพูดเป็นประโยชน์วลีหรือประโยคสั้นๆได้

พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ


             แรกเกิดนั้นอารมณ์ของทารกที่สังเกตได้จะเป็นอารมณ์สงบหรืออารมณ์ตื่นเต้นเท่านั้น ต่อมาจะแยกแยะได้มากขึ้นตามอิทธิพลของสิ่งเร้า เช่น ความกลัว ความเกลียด เบิกบาน ร่าเริง เป็นต้น โดยทั่วไปอารมณ์ของทารกที่พบคือ อารมณ์รัก โกธร กลัว เบิกบานและอยากรู้อยากเห็น
             ในระยะแรกคลอดทารกจะมีอาการตื่นเต้น ไม่แจ่มใสและชื่นบานสลับกันไป ซึ่งแยกได้ลำบาก ต่อมาอารมณ์จะค่อยๆ พัฒนาขึ้นตามวุฒิภาวะและการเรียนรู้อาการที่แสดงออกทางอารมณ์ของทารกวัยนี้ ทำให้เห็นได้ว่าทารกวัยนี้อารมณ์โกรธ กลัว อิจฉาริษยา อยากรู้อยากเห็น ดีใจ และรัก เช่น การส่งเสียงร้องเมื่อไม่พอใจ การถอยหนีหรือการร้องเมื่อเห็นคนแปลกหน้า การเรียกร้องความสนใจเมื่อผู้ใหญ่ให้ความสนใจน้องที่เกิดใหม่หรือคนอื่นๆ มากกว่าตนเอง การรื้อค้นสิ่งของต่างๆการหัวเราะโอบกอดพ่อแม่หรือคนที่คุ้นเคย เป็นต้น

พัฒนาการด้านร่างกาย


                พัฒนาการพื้นฐานที่สำคัญในวัยนี้ คือ พัฒนาการาทงร่างกาย การเคลื่อนไหวและการพูดในขณะที่พัฒนาการด้านอื่นเช่น สติปัญญา อารมณ์และสังคม จะเกิดขึ้นช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไปและเห็นได้ไม่ชัดเจนนัก

                1.พัฒนาการทางด้านร่างกาย เติบโตรวดเร็วมากกว่าวัยอื่น ยกเว้นรุ่น ระบบต่างๆ ของร่างกายทำงานได้ดี ประสานกันอย่างมีประสิทธิภาพ พัฒนาการด้านกายจะเป็นไปตามวุฒิภาวะมากกว่าสิ่งแวดล้อม และเป็นปอย่างสม่ำเสมอหรือมีแบบแผนที่แน่นอนคือ จากศีรษะสู่เท้าจากแกนกลางลำตัวสู่มือและเท้า ตามักษณะดังนี้

                1.1 ส่วนสูงของทารก แรกเกิดทารกจะมีส่วนสูงประมาณ 45-50 เซนตเมตร และเมื่อมีอายุได้ขวบปีแรก จะมีความสูงประมาณ 75 เซนติเมตร
                1.2 น้ำหนักของทารก เมื่อแรกเกิดทารกจะมีน้ำหนักประมาณ 5 ของน้ำหนักตัวของผู้ใหญ่ การเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัวชองเด็กจะพบว่าเป็น 2 เม่าของทารกวัยแรกเกิด เมื่ออายุได้ประมาณ 5เดือน และอาจจะเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่า และ 4 เท่า เมื่ออายุได้ 12 เดือนและ 30 เดือนตามลำดับ
                1.3 ศรีษะและสมอง เด็กแรกเกิดกะโหลกศรีษะยังมีกระดูกไม่เต็ม วัดรอบศีรษะไปประมาณ 33-37เซนติเมตร ในขณะที่สมองของเด็กแรกเกิดนั้นจะมีน้ำหนักประมาณร้อยละ 25 ของน้ำหนักสมองของผู้ใหญ่และในระยะ 6เดือน จะเพิ่มเป็นร้อยละ 50 เมื่ออายุได้ 4 ปีซึ่งนับว่าเป็นอวัยวะที่มีการพัฒนาการอย่างรวดเร็ว
                1.4 สัดส่วนของร่างกาย โดยสัดส่วนของศีรษะต่อเมื่อแรกเกิด จะเท่ากับประมาณ 1:4 และเมื่อโตเต็มที่จะเป็น 1:7 ในขณที่สัดส่วนของร่างกายจะเปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน
                1.5 โครงกระดูกและฟัน เจริญเติบโตเร็วมาก จะเพิ่มขึ้นทั้งจำนวนของกระดูก ความยาว ความกว้าง และความแข็งตัว ซึ่งพบว่ากระดูกส่วนใหญ่ของทารกจะแข็งจัวไม่เต็มที่ผู้ใหญ่แต่กระดูกบางส่นะเริ่งแข็งตัวขึ้น เช่น กระดูกมือและข้อมือ โดยเฉพาะกระโหลกศีรษะ โดยเฉพาะกระโหลกศีรษะ ซึ่งเมื่อคลอดจะยังปิดไม่สนิทอยู่ 4 ส่วน คือด้าหจ้าของศีรษะ ด้านข้างบริเวณกกหู 2 แห่ง และด้านหลังบริเวณท้ายทอย 1 แห่ง กะโหลกศีรษะด้านหน้าและด้านข้างจะปิดสนิทประมาณ 6-8สัปดาห์
                                ฟัน เมื่อแรกเกิดนั้นทารกจะไม่มีฟันที่สังเกตเห็นได้ โดยฟันน้ำนมจะขึ้นซี่แรกได้อายุประมาณ 6-8เดือนละครบ 20ซี่ เมื่ออายุ 24-30 เดือน
                1.6 ระบบประสาท ทารกต้องใช้เวลาในปีแรกๆ เพื่อพัฒนาเซลล์สมอง โดยพบว่าในช่วง 6 เดือนแรก สมองมีการพัฒาถึงร้อยละ 50 และจะพัฒนาเป็นร้อยละ 75 เมื่อมีอายุได้ 2 ขวบ การพัฒนาของสมองส่งผลสำคัญต่อการรับรู้ และการเคลื่อนไหว เราจึงได้เห็นทารกมีการพัฒนาด้านการเคลื่อไหวเกิดขึ้นเป็นขั้นตอน และค่อนข้างรวดเร็ว
                1.7 การเคลื่อนไหว การเคลื่อนไหวในตอนแรกของทารกเป็นปฏิกิริยาสะท้อน ดังนั้นระยะแรกๆ จึงเป็นการเคลื่อนหวที่ไร้จุดหมาย เหวี่ยงแขนไปมา ไม่มีทิศทาที่แน่นอน แต่เมื่ออวัยวะต่างๆพัฒนาขึ้น การเคลื่อนไหวของร่างกายทารกจึงเป็ไปตามใจปราถนาของทารกเอง และมีโดยใช้ปฎิกิริยาสะท้อน             
                1.8 พัฒนาการทางด้านสรีระ ทารกแรกเกิดจะนอนหลับเกือบตลอดวัน วันละ16-18ชั่งโมงต่อมาจะปรับตัวโดยจะลดจำนวนชั่วโมงการนอนลงพร้อมใช้เวลานอนในตอนกลางคืนมากกว่ากลางวัยในขณะที่การกินั้นทารกยังไม่คุ้นเคยกับการกินอาหารด้วต้นเอง อวัยวะต่างๆยังทำงานไม่เต็มที่จึงต้องกินอาหารเหลวจนถึงอายุ 4-5 เดือนจากนั้นจึงสามารถกินอาหารที่ลักษณะข้นได้ เมื่อฟันงอกก็จะเริ่มเคี้ยวอาหารในลักษณะกึ่งแข็งกึ่งเหลวได้ การช่วยตนเองในการกินจะค่อยๆ เป็นไปตามพัฒนาการของการใช้มือสำหรับการขับถ่ายในขวบปีแรกทารกยังสามารถควบคุมการขับถ่ยได้โดยในช่วงแรกได้เกิดทารกจะมีการขับถ่ายบ่นครั้งมากและเมื่ออายุได้ 2 เดื่อนทารกจะขับถ่ายอุจจาระน้อยลงเพียงวันละ 2ครั้งใกล้เวลาตื่นนอนและหลังดื่มนมสำหรับการขับถ่ายปัสสาวะก็จะเป็นไปเช่นเดียวกับอุจจาระ

วัยทารก

โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย
นำเสนออาจารย์มาลี บุญเนตร
วิชาสุขศึกษา
เรื่อง พัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงของวัยต่างๆ
ภาคเรียนที่ปีการศึกษา2558


            เป็นระยะเริ่มตั้งแต่แรกเกิด-1ปี ซึ่งเป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากทั้งด้านพัฒนาการและการเจริญเติบโตของร่างกาย เป็นวัยที่อ่อนแอกว่าวัยอื่น และเป็นวัยที่มีความสำคัญมากเพราะเป็นวัยที่มีการสร้างรากฐานของการพัฒนาบุคลิกภาพ ในระยะต่อ ๆ ไป ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ

ระยะที่ 1 วัยทารกแรกเกิด หมายถึง ทารกอายุ ตั้งแต่แรกเกิด - 1 เดือน เป็นระยะที่มีความสำคัญมากทารกต้องมีการเปลี่ยนแปลงสภาพมากมาย ปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ใหม่ภายนอกครรภ์ มารดา ต้องพึ่งผู้อื่นในการดำรงชีวิต นับตั้งแต่คลอด ทารกจะมีการปรับตัวเกี่ยวกับการหายใจ การดูด การขับถ่าย ทารกจะร้องไห้เมื่อหิว หรือได้รับความเจ็บปวด สายตายังมองอะไรได้ไม่ค่อยชัด ทารกจะชอบใกล้ชิดกับผู้ใหญ่ แสดงอารมณ์ดี ยิ้มเมื่อพ่อแม่อุ้มหรือโอบกอด ทารกจะส่งเสียงร้องไห้เป็นสื่อ เพื่อแสดงออกให้พ่อแม่รับรู้ความรู้สึก


ระยะที่ 2 วัยทารก หมายถึง ทารกอายุตั้งแต่ 1 เดือน - 1 ปี เป็นวัยแห่งการเจริญเติบโตที่เร็วมาก เริ่มเรียนรู้เกี่ยวกับโรค และสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น เป็นระยะของการเปลี่ยนแปลงที่เห็นชัดที่สุด ในด้านร่างกายและจิตใจ เป็นวัยที่มีการสร้างบุคลิกภาพ พัฒนาการต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น ทารกเริ่มมีฟันน้ำนมขึ้นเมื่ออายุ 6 – 8 เดือน ในด้านพฤติกรรม เด็กในวัยนี้มักแสดงความอยากรู้อยากเห็น แสดงความกลัว เช่น กลัวคนแปลกหน้า กลัวเสียงดัง ๆ แสดงความพึงพอใจโดยการยิ้ม หัวเราะ ชอบจ้องมองหือนิ่งฟังเสียงต่าง ๆ นอกจากนั้น ยังชอบเลียนแบบคำพูด ท่าทางของคนใกล้ชิด และสามารถที่จะเรียนรู้และแสดงออกทางภาษา ได้แก่ ส่งเสียงร้องไห้ ส่งเสียงแหลมสูง ทำเสียงดัง ซึ่งเป็นการเตรียมพร้อมที่จะพูด