วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2558

โภชนาการ

ความต้องการสารอาหารของวัยทารก


               ทารกควรได้รับอาหารเพียงพอกับที่ร่างกายต้องการ ความต้องการสารอาหารของทารกต่อหน่วยน้ำหนักกิโลกรัม มากกว่าวัยอื่นๆ เพราะมีการเจริญเติบโตที่รวดเร็วมาก
พลังงาน ทารกต้องการพลังงานวันละ 100-120 แคลอรีต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
โปรตีน ช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย และพัฒนาการของสมอง ทารกควรได้รับโปรตีนวันละ 2.5 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ซึ่งสูงกว่าวัยอื่นๆ
วิตามิน ได้แก่
-              วิตามินเอ ช่วยในการทำงานของเยื่อบุของตา และเยื่อบุผิวหนัง ทารกควรได้รับวิตามินเอวันละ 1000หน่วยสากล
-              วิตามินดี จำเป็นในการสร้างกระดูกและฟัน ควรได้รับวันละ 400 หน่วยสากล
-              วิตามินบี1 ควรได้รับวันละ 0.3 มิลลิกรัม
-              วิตามินบี2 ควรได้รับวันละ 0.4 มิลลิกรัม
-              ไนอะซิน ได้รับอย่างเพียงพออยู่แล้วในน้ำนม ซึงมีปริมาณ 4 มิลลิกรัม
-              วิตามินซี ต้องการวันละ 20 กรัม
-              โฟลาซิน ได้จากผักใบเขียวและตับสัตว์
เกลือแร่ ได้แก่
-              แคลเซียม ต้องการวันละ 400-500 มิลลิกรัม
-              เหล็ก ต้องการประมาณ 1 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม แต่ถ้าเป็นทารกที่คลอดก่อนกำหนดก็ต้องการ 2 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว
-              ไอโอดีน เป็นส่วนประกอบสำคัญในการสร้างฮอร์โมนไทรอคซินในระยะ6เดือนแรก ทารกจะต้องการไอโอดีนวันละ 35 ไมโครกรัม
น้ำ ควรได้รับวันละ 150 มิลลิลิตรต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม


อาหารเพิ่มเติมอื่นๆสำหรับทารก

-                   ทารกอายุ 1 เดือน ให้น้ำส้มคั้นที่ไม่เปรี้ยวมากเกินไป 1 ช้อนชา ผสมน้ำสุกเท่าตัว ต่อมาจึงเพิ่มจำนวนส้มจนถึงประมาณ ครึ่งผลถึงหนึ่งผล

-                   ทารกอายุ 2 เดือน เริ่มให้น้ำมันตับปลาประมาณครึ่งช้อนชา
-                   ทารกอายุ 4 เดือน เริ่มให้ข้าวครูด หรือข้าวบด ในตอนแรกให้เพียง 1-2 ช้อนชา แล้วค่อยๆเพิ่มจนถึง 1-2 ช้อนโต๊ะผสมกับ น้ำต้มกระดูก น้ำต้มตับ น้ำต้มผัก หลังจากนั้นให้น้ำนมตาม เมื่อทารกกินข้าวกับน้ำซุบได้ดีแล้ว ก็เริ่มให้ไข่แดงต้มสุดบดละเอียด เริ่มด้วย 1 ช้อนชา และเพิ่มไปเรื่อยๆ จนถึงไข่แดงวันละ 1 ฟอง
-                   ทารกอายุ 5 เดือน เริ่มให้เนื้อปลาบดละเอียดประมาณ 1-2 ช้อนโต๊ะ ผสมกับข้าวและน้ำซุบ
-                   ทารกอายุ 6 เดือน ให้อาหารผสมแทนน้ำนม 1 มื้อเริ่มให้ผักต้มบดละเอียดลงไปในข้าวประมาณ 1-2 ช้อนโต๊ะ
-                   ทารกอายุ 7 เดือน เริ่มให้เนื้อสัตว์ต้มเปื่อยบดละเอียดและตับ1-2ช้อนโต๊ะ และให้ลองกินไข่ขาว ขนมปังกรอบ

-                   ทารกอายุ 8 เดือน เริ่มให้อาหารผสมแทนน้ำนม 2 มื้อ และเริ่มให้ของหวานหลังอาหารคาว

-                   ทารกอายุ 9 เดือน ให้อาหารเหมือนเมื่ออายุ 8 เดือน และให้เริ่มจับช้อนป้อนข้าวเอง และดื่มน้ำจากถ้วยเอง
-                   ทารกอายุ 10-12 เดือน ค่อยๆเพิ่มอาหารผสมแทนน้ำนมทั้ง 3 มื้อ

1 ความคิดเห็น: