พัฒนาการพื้นฐานที่สำคัญในวัยนี้ คือ พัฒนาการาทงร่างกาย การเคลื่อนไหวและการพูดในขณะที่พัฒนาการด้านอื่นเช่น สติปัญญา อารมณ์และสังคม จะเกิดขึ้นช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไปและเห็นได้ไม่ชัดเจนนัก
1.พัฒนาการทางด้านร่างกาย เติบโตรวดเร็วมากกว่าวัยอื่น ยกเว้นรุ่น ระบบต่างๆ ของร่างกายทำงานได้ดี ประสานกันอย่างมีประสิทธิภาพ พัฒนาการด้านกายจะเป็นไปตามวุฒิภาวะมากกว่าสิ่งแวดล้อม และเป็นปอย่างสม่ำเสมอหรือมีแบบแผนที่แน่นอนคือ จากศีรษะสู่เท้าจากแกนกลางลำตัวสู่มือและเท้า ตามักษณะดังนี้
1.1 ส่วนสูงของทารก แรกเกิดทารกจะมีส่วนสูงประมาณ 45-50 เซนตเมตร และเมื่อมีอายุได้ขวบปีแรก จะมีความสูงประมาณ 75 เซนติเมตร
1.2 น้ำหนักของทารก เมื่อแรกเกิดทารกจะมีน้ำหนักประมาณ 5 ของน้ำหนักตัวของผู้ใหญ่ การเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัวชองเด็กจะพบว่าเป็น 2 เม่าของทารกวัยแรกเกิด เมื่ออายุได้ประมาณ 5เดือน และอาจจะเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่า และ 4 เท่า เมื่ออายุได้ 12 เดือนและ 30 เดือนตามลำดับ
1.3 ศรีษะและสมอง เด็กแรกเกิดกะโหลกศรีษะยังมีกระดูกไม่เต็ม วัดรอบศีรษะไปประมาณ 33-37เซนติเมตร ในขณะที่สมองของเด็กแรกเกิดนั้นจะมีน้ำหนักประมาณร้อยละ 25 ของน้ำหนักสมองของผู้ใหญ่และในระยะ 6เดือน จะเพิ่มเป็นร้อยละ 50 เมื่ออายุได้ 4 ปีซึ่งนับว่าเป็นอวัยวะที่มีการพัฒนาการอย่างรวดเร็ว
1.4 สัดส่วนของร่างกาย โดยสัดส่วนของศีรษะต่อเมื่อแรกเกิด จะเท่ากับประมาณ 1:4 และเมื่อโตเต็มที่จะเป็น 1:7 ในขณที่สัดส่วนของร่างกายจะเปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน
1.5 โครงกระดูกและฟัน เจริญเติบโตเร็วมาก จะเพิ่มขึ้นทั้งจำนวนของกระดูก ความยาว ความกว้าง และความแข็งตัว ซึ่งพบว่ากระดูกส่วนใหญ่ของทารกจะแข็งจัวไม่เต็มที่ผู้ใหญ่แต่กระดูกบางส่นะเริ่งแข็งตัวขึ้น เช่น กระดูกมือและข้อมือ โดยเฉพาะกระโหลกศีรษะ โดยเฉพาะกระโหลกศีรษะ ซึ่งเมื่อคลอดจะยังปิดไม่สนิทอยู่ 4 ส่วน คือด้าหจ้าของศีรษะ ด้านข้างบริเวณกกหู 2 แห่ง และด้านหลังบริเวณท้ายทอย 1 แห่ง กะโหลกศีรษะด้านหน้าและด้านข้างจะปิดสนิทประมาณ 6-8สัปดาห์
ฟัน เมื่อแรกเกิดนั้นทารกจะไม่มีฟันที่สังเกตเห็นได้ โดยฟันน้ำนมจะขึ้นซี่แรกได้อายุประมาณ 6-8เดือนละครบ 20ซี่ เมื่ออายุ 24-30 เดือน
1.6 ระบบประสาท ทารกต้องใช้เวลาในปีแรกๆ เพื่อพัฒนาเซลล์สมอง โดยพบว่าในช่วง 6 เดือนแรก สมองมีการพัฒาถึงร้อยละ 50 และจะพัฒนาเป็นร้อยละ 75 เมื่อมีอายุได้ 2 ขวบ การพัฒนาของสมองส่งผลสำคัญต่อการรับรู้ และการเคลื่อนไหว เราจึงได้เห็นทารกมีการพัฒนาด้านการเคลื่อไหวเกิดขึ้นเป็นขั้นตอน และค่อนข้างรวดเร็ว
1.7 การเคลื่อนไหว การเคลื่อนไหวในตอนแรกของทารกเป็นปฏิกิริยาสะท้อน ดังนั้นระยะแรกๆ จึงเป็นการเคลื่อนหวที่ไร้จุดหมาย เหวี่ยงแขนไปมา ไม่มีทิศทาที่แน่นอน แต่เมื่ออวัยวะต่างๆพัฒนาขึ้น การเคลื่อนไหวของร่างกายทารกจึงเป็ไปตามใจปราถนาของทารกเอง และมีโดยใช้ปฎิกิริยาสะท้อน 1.8 พัฒนาการทางด้านสรีระ ทารกแรกเกิดจะนอนหลับเกือบตลอดวัน วันละ16-18ชั่งโมงต่อมาจะปรับตัวโดยจะลดจำนวนชั่วโมงการนอนลงพร้อมใช้เวลานอนในตอนกลางคืนมากกว่ากลางวัยในขณะที่การกินั้นทารกยังไม่คุ้นเคยกับการกินอาหารด้วต้นเอง อวัยวะต่างๆยังทำงานไม่เต็มที่จึงต้องกินอาหารเหลวจนถึงอายุ 4-5 เดือนจากนั้นจึงสามารถกินอาหารที่ลักษณะข้นได้ เมื่อฟันงอกก็จะเริ่มเคี้ยวอาหารในลักษณะกึ่งแข็งกึ่งเหลวได้ การช่วยตนเองในการกินจะค่อยๆ เป็นไปตามพัฒนาการของการใช้มือสำหรับการขับถ่ายในขวบปีแรกทารกยังสามารถควบคุมการขับถ่ยได้โดยในช่วงแรกได้เกิดทารกจะมีการขับถ่ายบ่นครั้งมากและเมื่ออายุได้ 2 เดื่อนทารกจะขับถ่ายอุจจาระน้อยลงเพียงวันละ 2ครั้งใกล้เวลาตื่นนอนและหลังดื่มนมสำหรับการขับถ่ายปัสสาวะก็จะเป็นไปเช่นเดียวกับอุจจาระ
ที่มา http://www.pathumrat.ptpk.ac.th/mana_Online/m3/unit1/T1_n1_m3.html
ตอบลบ